ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง อาการปวดมักจะมีการปวดเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ซึ่งระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งจะประมาณ 8-12 ชั่วโมง บางรายอาจปวดนานได้ถึง 72 ชั่วโมง
อาการปวดไมเกรน จะแย่ลงถ้ามีการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยขณะที่ปวดมักจะมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการนำก่อนที่จะมีการปวดเกิดขึ้น เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วครู่ ชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย อาการนำมักเป็นอยู่ประมาณ 5–20 นาที หลังจากนั้น ก็จะมีอาการปวดเกิดขึ้นตามมา
สาเหตุของการเกิดโรคไมเกรน
ปัจจุบัน สาเหตุและกลไกการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับระบบการส่งกระแสประสาทในสมองที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดโรคไมเกรนขึ้น ซึ่งก็พบว่าระบบประสาทของผู้ที่เป็นไมเกรนจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นไมเกรน
หรือบางการศึกษาก็พบว่า เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคไมเกรน
อาหาร การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส ใส่สารถนอมอาหาร อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ สารอาหารบางชนิดกระตุ้นไมเกรนได้ เช่น คาเฟอีน ช๊อคโกแล็ต ผงชูรส สารไนเตรท เป็นต้น
การนอนหลับ การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไปสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับการขยายและหดตัวของหลอดเลือดในสมอง
ฮอร์โมน ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นไมเกรนมักจะมีอาการปวดในช่วงที่มีประจำเดือน และความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดมักจะมากกว่าหรือการปวดในช่วงอื่น
สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อากาศร้อน ตากแดด กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดและไม่สามารถจัดการกับความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ จะมีโอกาสเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้บ่อยและรุนแรง
ความอันตรายของโรคไมเกรน
โรคไมเกรน ถึงจะไม่ใช่โรคที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในแบบโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดในสมองแตก แต่ก็สร้างความทนทุกข์มทรมานให้กับผู้ป่วยได้ เพราะโรคไมเกรนมีโอกาสที่สามารถจะเกิดขึ้นซ้ำๆได้ ถ้ามีปัจจัยกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียโอกาสต่างๆ เพราะการปวดไมเกรนอาจทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดพัก หรือ ไม่สามารถทำงานได้เลย เป็นต้น
การรักษาปัจจุบัน
การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนในปัจจุบัน เช่น การบรรเทาอาการปวดศีรษะ และการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำหรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ
การบรรเทาอาการปวดศีรษะอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เช่น การนวด การกดจุด การประคบเย็น การประคบร้อน หรือการนอนหลับ สำหรับการปวดรุนแรงก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด และยาแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงต่างๆ กันไป นอกจากนี้ผู้ป่วยแต่ละรายก็ตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกันด้วย จึงต้องเลือกให้เหมาะสมในแต่ละรายไป
ยาป้องกันการเกิดไมเกรนนั้นมีอยู่หลายชนิด จึงต้องเลือกชนิดและขนาดยาให้เหมาะสม แนะนำให้รับประทานยาป้องกันต่อเนื่องจนอาการสงบลงนาน 6-12 เดือน จึงลองหยุดยาได้ เมื่อกำเริบขึ้นอีกจึงเริ่มใหม่
ยากันชักบางชนิด ปัจจุบันมีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่ายากันชักสามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้ผลดี เช่น sodium valproate, toprimate เป็นต้น
การใช้สมุนไพรในโรคไมเกรน
ขิง
มีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขิงและยา sumatriptan ในการรักษาไมเกรน ซึ่งในการศึกษาทางคลินิก ถึงประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรนของขิง เปรียบเทียบกับยา sumatriptan เมื่อเริ่มมีอาการปวดศีรษะ พบว่าความรุนแรงของอาการปวดจะลดลงในทั้ง 2 กลุ่ม หลังจากได้รับยา 2 ชั่วโมง โดยประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของขิงและยาจะไม่แตกต่างกัน
แต่อาการไม่พึงประสงค์ของขิงจะน้อยกว่ายา โดยพบเพียงอาการอาหารไม่ย่อย
สรุปว่าขิงก็มีผลในการรักษาไมเกรนแบบไม่มีอาการนำได้เหมือนกับยา sumatriptan แต่มีอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่า เป็นต้น
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เกี่ยวข้องอะไรกับโรคไมเกรน
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญานการปวดผ่านสารสื่อประสาทหลายๆชนิดในการเกิดโรคไมเกรนขึ้น เช่น สารสื่อประสาทเซโรโทนีน การผลิตสารไนตริกออกไซด์ และสารในสมองอีกมากมาย นอกจากนี้ตัวรับของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ยังมีอยู่ในสมองในตำแหน่งที่คาดว่าก่อให้เกิดการปวดแบบโรคไมเกรนเกิดขึ้น ซึ่งก็คือบริเวณที่เรียกว่า periaqueductal gray matter (PAG), and rostral ventromedial medulla (RVM)
การกระตุ้นตัวรับ CB1 บริเวณในสมอง และการออกฤทธิ์ของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เช่น สาร AEA และ สาร 2-AG สามารถลดการปวดได้
มีรายงานการศึกษาพบว่า สาร AEA หรือสารที่สามารถกระตุ้นตัวรับ CB1 สามารถยังยั้งการก่อให้เกิดการส่งสัญญานการปวดได้ และยังพบว่าสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งตัวรับของสารเซโรโทนิน ชนิดที่ 3 ได้ ซึ่งนำไปสู่การลดการปวด การลดการอาเจียนในผู้ป่วยไมเกรนได้
นอกจากนี้ยังพบว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ยังสามารถควบคุมเอนไซม์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการนำไปสู่การปวดไมเกรน, สามารถลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ รวมทั้งลดสารที่กระตุ้นให้เกิดการปวดในสมองได้ เป็นต้น
ทำไมต้องกัญชา
ตัวรับในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ นอกจากจะมีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นเองสามารถจะจับกับตัวรับในบริเวณสมองที่คาดว่าคือต้นตอของการปวดแบบไมเกรนแล้ว สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา ก็ยังสามารถจับกับตัวรับในแบบที่สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ได้เช่นกัน
ซึ่งจากการที่สารในกัญชามันสามารถเข้าไปที่สมองได้ จึงมีการเชื่อว่า กัญชาจึงสามารถจะทำการบรรเทาอาการปวดหรือรักษาไมเกรนได้ถึงต้นตอของบริเวณต้นตอของการก่อให้เกิดการปวดขึ้นมา นั่นเอง
สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา จับกับตัวรับในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนอย่างน้อย 14 ตัวรับ จึงสามารถเอาโรคไมเกรนอยู่ ซึ่งยากที่ยาเคมีตัวใดจะทำได้
กัญชาเกี่ยวข้องกับโรคไมเกรนอย่างไร
สารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่ได้จากกัญชา คือ สาร THC และ สาร CBD คือ สารหลักที่มีการศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์ในการลดการปวดไมเกรน เพราะว่าสารเหล่านี้มีความสามารถสามารถในการออกฤทธิ์ลดการแก้ปวดได้ในแบบที่สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง จึงมีการนำมาใช้ในการบรรเทาการปวดไมเกรน
ซึ่งจากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ในการที่สาร THC หรือ สาร CBD เข้าไปออกฤทธิ์เพื่อยับยั้งหรือบรรเทาอาการปวดก็พบว่า
สารไฟโตแคนนาบินอยด์ สามารถออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ CB1, ตัวรับ CB2 และตัวรับ TPRV1 ในการลดการส่งสัญญานการปวดให้เกิดขึ้นได้ หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า
กัญชา สามารถตัดหรือระงับสัญญานที่จะทำให้มีการปวดไมเกรนเกิดขึ้นได้ นั่นเอง
แนวทางการใช้กัญชา ร่วมกับสมุนไพรอื่น ในการรักษาโรคไมเกรน
การใช้กัญชาร่วมกับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการช่วยลดการปวด หรือ ผ่อนคลายจากการปวด หรือแม้แต่การใช้กัญชาร่วมกันกับยาเคมีที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการขอโรคไมเกรน สามารถที่จะเกิดกรณียาตีกันได้เหมือนกับการใช้ยาร่วมกันในโรคอื่นๆเช่นกัน
ซึ่งผลของการตีกันก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงแก่ผู้ป่วยได้ การใช้กัญชาร่วมกับยาอื่นๆ จึงต้องมีความเข้าใจในเรื่องยาตีกันด้วย และใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยพิจารณาเมื่อต้องใช้ทั้งกัญชา ยาเคมี และสมุนไพรอื่นๆร่วมกัน นั่นเอง
สั่งซื้อหนังสือ พร้อมเรียนรู้แบบออนไลน์ ได้ตามรายละเอียดครับ
เอกสารอ้างอิง
Endocannabinoid System and Migraine Pain: An Update. Front Neurosci. 2018;12:172. Published 2018 Mar 19.
The endocannabinoid system and migraine. Experimental Neurology: Volume 224, Issue 1, July 2010, Pages 85-91
The endocannabinoid system in migraine: from bench to pharmacy and back. Curr Opin Neurol 2019, 32:405–412
Comparison between the efficacy of ginger and sumatriptan in the ablative treatment of the common migraine. Phytother Res. 2014 Mar;28(3):412-5.
More Science Less Marketing