9 กลไกการออกฤทธิ์ที่ทำให้ สาร CBDA ในใบกัญชง กัญชา ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน


สาร Cannabidiolic acid (CBDA) เป็นสาร Phytocannabinoid ที่ไม่ออกฤทธิ์ทางจิตที่พบในใบกัญชาดิบ รวมทั้งใบกัญชงดิบด้วยเช่นกัน เป็นสารตั้งต้นที่เป็นจะเปลี่ยนไปเป็นสาร cannabidiol (CBD) เมื่อได้รับความร้อนที่เหมาะสม ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับสาร CBDA และคุณประโยชน์ที่เป็นไปได้สำหรับโรคเบาหวานเริ่มมีมากขึ้น ซึ่งต่อไปนี้ คือ 9 กลไกการออกฤทธิ์ของสาร CBDA ที่พบในใบกัญชา กัญชง ที่จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ดังนี้

1. Anti-inflammatory effects : ยับยั้งการอักเสบแบบเรื้อรัง

การอักเสบเรื้อรังมีบทบาทสำคัญในการนำไปสู่สาเหตุของการเกิดการต้านทานต่ออินซูลิน หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้นอินซูลินของเซลล์ในร่างกาย และยังเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ซึ่งสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ที่พบในใบกัญชา ใบกัญชง เช่น สาร CBDA มีรายงานว่า อาจช่วยลดการอักเสบได้ โดยเข้าไปออกฤทธิ์ผ่านระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) และควบคุมการผลิตสารไซโตไคน์ที่ทำให้เกิดการอักเสบเกิดขึ้นในเซลล์ร่างกาย

สรุปเข้าใจง่ายๆ คือ สาร CBDA ยับยั้งการอักเสบเรื้อรังในเซลล์ ซึ่งการอักเสบเรื้อรัง คือ สาเหตุของการเกิดการดื้ออินซูลิน

2. Insulin sensitivity : เพิ่มความไวต่ออินซูลินของเซลล์ในร่างกาย

การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่า สาร Phytocannabinoids บางชนิด เช่น สาร CBDA สามารถเพิ่มความไวของอินซูลินได้ ทำให้ร่างกายสามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการที่เซลล์ร่างกายมีความไวของอินซูลินนี้มากขึ้น ทำให้สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 หรือภาวะแทรกซ้อนได้ นั่นเอง

3. Glucose metabolism : เพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส

สารไฟโตแคนนาบินอยด์ เช่น สาร CBDA ที่พบในใบสดกัญชา กัญชง อาจมีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของกลูโคส หรือ การเผลาผลาญน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงาน โดยการปรับการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ และรวมทั้งการส่งสัญญาณสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม การเก็บ และการใช้กลูโคส ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการเผาผลาญกลูโคสที่ดีขึ้น ก็สามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดีขึ้น นั่นเอง

4. Neuroprotection : ช่วยปกป้องเซลล์สมอง

โรคทางระบบประสาทซึ่งมีสาเหตุจากการเกิดโรคเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของโรคเบาหวาน โดยมีลักษณะความเสียหายของเส้นประสาท เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งสาร Phytocannabinoids บางชนิด เช่น สาร CBDA มีคุณสมบัติในการป้องกันระบบประสาทได้ จึงสามารถช่วยป้องกันหรือลดความเสียหายของเส้นประสาทในผู้ป่วยเบาหวานได้ นั่นเอง

สรุป คือ สาร CBDA ในใบกัญชง กัญชา จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง จากโรคเบาหวานได้

5. Vasodilation : คุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด

สาร Phytocannabinoids เช่น สาร THC และ สาร CBD รวมทั้งสาร CBDA มีฤทธิ์ในการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งการขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดและหัวใจที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

6. Appetite regulation : ควบคุมความอยากอาหาร

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มีส่วนร่วมในการควบคุมความอยากอาหารและความสมดุลของพลังงาน ซึ่งสารไฟโตแคนนาบินอยด์บางชนิด เช่น สาร THC เป็นที่รู้กันว่าช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร และสาร CBD รวมทั้งสาร CBDA ช่วยลดความอยากของอาหาร ซึ่งการรักษาความอยากอาหารและการบริโภคอาหารให้สมดุล สามารถช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานในการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปก็คือ สาร CBDA ในใบกัญชา กัญชง สามารถควบคุมความอยากของอาหารได้ ซึ่งมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีความหิวอยู่ตลอดเวลา

7. Immune system modulation : ปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

โรคเบาหวานที่เกิดจากภูมิต้านตนเอง เช่น โรคเบาหวานประเภท 1 เกิดจากการโจมตีของระบบภูมิคุ้มกันต่อเบต้าเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ซึ่งสารไฟโตแคนนาบินอยด์บางชนิด เช่น สาร CBDA มีคุณสมบัติในการปรับภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเองหรือชะลอการดำเนินของโรคได้

8. Antioxidant properties : คุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ความเครียดออกซิเดชัน หรือ Oxidative stress เป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพราะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระเกิดขึ้นในเซลล์ร่างกาย ซึ่งสาร Phytocannabinoids มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายและลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งอาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

9. Pancreatic beta-cell preservation : ช่วยดูแลและรักษาเซลล์เบต้าในตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลิน

งานวิจัยทางการแพทย์พบว่า สาร Phytocannabinoids เช่น สาร CBDA และ สาร CBD อาจช่วยปกป้องเซลล์เบต้าของตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่ให้เสียหายหรือถูกทำลาย ซึ่งการรักษาการทำงานของเบต้าเซลล์สามารถช่วยรักษาการผลิตอินซูลินและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น การใช้ใบกัญชา กัญชง มาดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยการนำใบมาทำเป็นชา หรือต้มใบ เป็นชาดื่ม จึงมีรายงานถึงความเป็นไปได้ ในการช่วยลดน้ำตาลในเลือด ได้นั่นเอง

แต่ทั้งนี้ การพิจารณาใช้ ควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง หรือ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการใช้สาร CBDA หรือ ใบกัญชง กัญชา เพื่อการดูแลสุขภาพด้วย

สั่งซื้อหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง และรับสิทธิ์เรียนออนไลน์ ฟรี ได้ที่ช่องทางด้านล่างครับ

สนใจผลิตภัณฑ์ หรือ สินค้า สามารถติดต่อสอบถาม ผ่านช่องทางด้านล่างได้เลยครับ