7 กลไกการออกฤทธิ์ ที่สาร THC จากกัญชา หรือ กัญชง กำจัดเซลล์มะเร็งปอดได้


สาร Tetrahydrocannabinol (THC) เป็นสารออกฤทธิ์ที่เป็นส่วนประกอบที่พบในพืชตระกูลกัญชาและกัญชง และสามารถเข้าไปออกฤทธิ์ในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายคนเราได้ และปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางยาที่สาร THC เข้าไปเกี่ยวข้องกับเซลล์มะเร็งต่างๆ รวมทั้งมะเร็งปอดด้วย รวมทั้งการศึกษาที่มีการระบุกลไกการออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้หลายกลไกในบริบทของเซลล์มะเร็งปอด ต่อไปนี้ คือ กลไกการออกฤทธิ์ที่มีความเป็นไปได้ 7 กลไกของสาร THC ต่อเซลล์มะเร็งปอด

1. Apoptosis induction : เหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งปอดฝ่อตาย

กระบวนการ Apoptosis ที่เกิดจากสาร THC นั้นเกิดขึ้นจากการกระตุ้นตัวรับ CB1 และ CB2 ในเซลล์มะเร็งปอดของร่างกาย ซึ่งตัวรับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งมีบทบาทในกระบวนการทางสรีรวิทยาที่หลากหลาย รวมถึงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง และจากการศึกษาวิจัยพบว่า สาร THC สามารถกระตุ้นเส้นทางการส่งสัญญาณภายในเซลล์ที่นำไปสู่การกระตุ้นโปรตีนโปรอะพอพโทซิส (Pro-apoptotic proteins) เช่น Bax และ caspase-3 ซึ่งส่งผลให้เซลล์มะเร็งตายในที่สุด ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ก็คือ กระบวนการเหนี่ยวนำเซลล์มะเร็งให้ฝ่อตาย หรือ Apoptosis

ดังนั้น การใช้สาร THC จากพืชกัญชา กัญชง จึงสามารถทำให้เซลล์มะเร็งปอดลดลงได้ ด้วยกระบวนการเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายเพิ่มขึ้น นั่นเอง

สรุปเข้าใจง่ายๆ คือ สาร THC ทำให้เซลล์มะเร็งปอดตายเพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์มะเร็งลดลง

2. Cell cycle arrest : การหยุดวงจรการแบ่งเซลล์มะเร็ง

วัฏจักรของเซลล์หรือวงจรของเซลล์เป็นกระบวนการที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดทั้งในเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง ที่มีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมในการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ และถ้ามีความผิดปกติหรือหยุดชะงักเกิดขึ้น อาจนำไปสู่การเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และนำไปสู่เซลล์มะเร็งปอดได้ นั่นเอง

ซึ่งความสามารถของกลไกการออกฤทธิ์สาร THC ในการควบคุมวัฏจักรของเซลล์ในเซลล์มะเร็งปอดอาจเกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ผ่านทางโปรตีน cyclin-dependent kinases (CDKs) ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งควบคุมการลุกลามหรือเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งอย่างไม่มีหยุด ตัวอย่างเช่น สาร THC อาจลดการแสดงออกของ cyclin D1 และเพิ่มการแสดงออกของสารยับยั้ง CDK p27 ซึ่งนำไปสู่การควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้มีการแบ่งตัวเพื่อจำนวนขึ้นมาอีกได้ นั่นเอง

3. Inhibition of angiogenesis : ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ในปอดให้กับเซลล์มะเร็ง

กระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า สาร THC สามารถยับยั้งการผลิตปัจจัยที่กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ เช่น VEGF ทำให้สาร THC สามารถจำกัดความสามารถของเซลล์มะเร็งในการสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ ซึ่งในที่สุดก็จะช่วยขัดขวางหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดได้ในที่สุด

ถ้าเซลล์มะเร็ง สร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาไม่ได้ ก็จะขาดเส้นทางลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงพวกมัน ทำให้ ขาดอาหาร ตายหรือชะลอการเติบโตได้ นั่นเอง

4. Inhibition of metastasis : ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งปอด

ความสามารถของสาร THC ในการยับยั้งการรุกรานและการบุกรุกของเซลล์มะเร็งปอด คือ การเข้าไปควบคุมการแสดงออกของเมทริกซ์เมทัลโลโปรตีนเนส (MMPs) หรือ matrix metalloproteinases (MMPs) และสารยับยั้งเนื้อเยื่อของเมทัลโลโปรตีนเนส (TIMPs) หรือ tissue inhibitors of metalloproteinases (TIMPs) ซึ่งโปรตีนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายเมทริกซ์นอกเซลล์ ซึ่งจำเป็นต่อการบุกรุกและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

สรุป คือ สาร THC เข้าไปควบคุมโปรตีนและเอนไซม์ที่เซลล์มะเร็งใช้ในการรุกรานและเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะอื่นๆ

5. Modulation of immune response : ควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็ง

ระบบภูมิคุ้มกันมีบทบาทที่ซับซ้อนในการเกิดเซลล์มะเร็ง โดยมีผลทั้งในเชิงส่งเสริมและต่อต้านเซลล์มะเร็ง ซึ่งคุณสมบัติในการปรับหรือควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของสาร THC อาจส่งผลต่อความสมดุลระหว่างผลดีและผลเสียต่อเซลล์มะเร็งได้ และจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการลุกลามของมะเร็งปอด ตัวอย่างเช่น มีการศึกษาวิจัยพบว่าสาร THC สามารถกระตุ้นเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ เช่น M2 macrophages และ T-helper 2 ซึ่งอาจส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

แต่ในทางกลับกัน สาร THC อาจเพิ่มอันตรายให้กับเซลล์มะเร็งด้วยการไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น natural killer cells และ cytotoxic T lymphocytes ซึ่งจะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ในที่สุด

6. Activation of autophagy : กระตุ้นการฝ่อตัวของเซลล์มะเร็ง

แม้ว่ากระบวนการ autophagy สามารถมีผลทั้งในเชิงส่งเสริมและต่อต้านเซลล์มะเร็ง แต่กระบวนการ autophagy ที่เกิดจากสาร THC นั้นเกี่ยวข้องกับการฝ่อตายของเซลล์มะเร็งเป็นหลัก ซึ่งกลไกในระดับโมเลกุลที่อยู่ภายใต้กระบวนการนี้อาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นโปรตีนไคเนส the AMP-activated protein kinase (AMPK) และ การยับยั้งการส่งสัญญานของ the mammalian target of rapamycin (mTOR) signaling pathway ทำให้เซลลืมะเร็งเกิดการฝ่อและตายได้

สรุปก็คือ สาร THC จะไปทำให้เซลล์มะเร็ง ฝ่อตัว และตาย ไม่สามารถเติบโต ไปเป็นเซลล์มะเร็งที่เต็มวัยได้

7. Synergistic effects with other cannabinoids and cancer treatments : เสริมฤทธิ์กับสมุนไพรหรือการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ

ผลที่เป็นไปได้ของสาร THC กับสารไฟโตแคนนาบินอยด์อื่น ๆ เช่น สาร CBD อาจเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของเส้นทางการส่งสัญญาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง การตายของเซลล์ และการสร้างเส้นเลือดใหม่ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ THC ออกฤทธิ์ผ่านรีเซพเตอร์ CB1 และ CB2 เป็นหลัก แต่ CBD ก็แสดงฤทธิ์ของมันผ่านรีเซพเตอร์อื่นๆ เช่น transient receptor potential vanilloid 1 (TRPV1) และ peroxisome proliferator-activated receptor-gamma (PPAR-γ) โดยส่งผลต่อฤทธิ์ที่เกิดขึ้นต่อเป้าหมายหลายเส้นทาง ซึ่งการใช้ร่วมกันของสารไฟโตแคนนาบินอยด์อื่นๆ อาจให้ผลต้านเซลล์มะเร็งที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสารประกอบแต่ละชนิดเพียงอย่างเดียว

ดังนั้น สาร THC จึงเหมาะสมกับการใช้ร่วมกับ สาร CBD สำหรับกำจัดเซลล์มะเร็งปอด นั่นเอง

โดยสรุป แม้ว่าสาร THC ได้แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งปอดที่เกิดขึ้น แต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของมันอย่างถ่องแท้ และเพื่อสร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งปอดในมนุษย์ จนกว่าจะมีหลักฐานเพิ่มเติม

แต่ทั้งนี้ การพิจารณาใช้ ควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง หรือ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการใช้สาร THC เพื่อการดูแลสุขภาพด้วย

สั่งซื้อหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง และรับสิทธิ์เรียนออนไลน์ ฟรี ได้ที่ช่องทางด้านล่างครับ

สนใจผลิตภัณฑ์ หรือ สินค้า สามารถติดต่อสอบถาม ผ่านช่องทางด้านล่างได้เลยครับ