กัญชา จะรักษาโรคพาร์กินสันได้อย่างไร


โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นกลุ่มอาการที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ มีอาการสั่นตามอวัยวะต่าง ๆ เคลื่อนไหวร่างกายช้า และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ไม่ยืดหยุ่น เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ในสมอง หรือสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่ซึ่งถูกทำลายจนเสียหาย

            โดยการเสื่อมของสมองและความรุนแรงของโรคจะค่อย ๆ เกิดขึ้นและค่อย ๆ แสดงอาการออกมาอย่างช้า ๆ ไม่ได้มีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันอย่างโรคร้ายแรงอื่นๆ

อาการของพาร์กินสัน

            โรคพาร์กินสันมีอาการหลัก เช่น

            อาการสั่น (Tremor) เป็นอาการสั่นที่นิ้ว มือ แขน หรือขา ขณะอยู่ในท่าพักและไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาการแบบนี้จะเกิดขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้

            เคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) การเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ จะช้ากว่าปกติ จนก่อให้เกิดความยากลำบากและใช้เวลานานในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เดินก้าวสั้น ๆ เดินลากเท้า ลุกออกจากที่นั่งลำบาก เป็นต้น

            กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity) กล้ามเนื้อจะแข็งและเกร็งกว่าปกติทั่วไป ทำให้เคลื่อนไหวอวัยวะได้อย่างลำบากและได้จำกัด หรือ ทำให้เกิดความเจ็บปวดได้หากเกิดภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

            อาการอื่น ๆ ที่พบในผู้ป่วยพาร์กินสัน ได้แก่ ขาดสมดุลการทรงตัว ท่าทางต่างไปจากปกติ อย่างยืนตัวงอ หรือทรงตัวลำบาก ไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ความสามารถในการควบคุมและแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ลดลง เช่น ไม่สามารถควบคุมการยิ้ม การกะพริบตา หรือการแกว่งแขนในขณะเดินได้ตามปกติ เป็นต้น

การรักษาพาร์กินสัน

            ปัจจุบัน โรคพาร์กินสันอาจยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเซลล์เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย แต่ก็มีวิธีการรักษาที่จะช่วยให้อาการที่เป็นอยู่ทุเลาลง ไม่รุนแรงมากกว่าเดิม เพื่อลดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด

การรักษาด้วยยา

ยารักษาพาร์กินสันต้องใช้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น เช่น

            คาร์บิโดปา-ลีโวโดปา (Carbidopa-Levodopa) ยาลีโวโดปาเป็นสารเคมีธรรมชาติที่เมื่อผ่านเข้าสู่สมองแล้วจะกลายเป็นโดปามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนคาร์บิโดปาเป็นยาที่ใช้รักษาร่วมกับลีโวโดปา โดยจะออกฤทธิ์ป้องกันไม่ให้โดปามีนถูกทำลายภายนอกสมอง

            โดปามีน อะโกนิสต์ (Dopamine Agonists) เป็นยากระตุ้นตัวรับโดปามีน จะทำงานต่างจากยาลีโวโดปาที่กลายเป็นโดปามีน แต่ยากลุ่มนี้จะทำหน้าที่แทนโดปามีนในร่างกาย เพื่อลดอาการที่เกิดจากภาวะพาร์กินสัน ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ เช่น พรามิเพรกโซล (Pramipexole)

            ยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดส-บี (MAO-B Inhibitors) เช่น เซเลกิลีน ช่วยป้องกันการลดระดับโดปามีนในสมองด้วยการยับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดส-บี ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะเผาผลาญทำลายสารโดปามีน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคพาร์กินสัน

            โรคพาร์กินสันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้ เช่น กลืนลำบาก อาจมีน้ำลายสะสมอยู่ในปากมาก ทำให้กลืนกินอาหารลำบาก ปัสสาวะลำบาก หรือไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ ท้องผูก ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ช้าลง มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน รู้สึกตัวขึ้นมากลางดึกบ่อย ๆ แล้วง่วงนอนทั้งวัน

มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก เช่น ภาวะซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนทั้งความกลัว วิตกกังวล หรือรู้สึกขาดแรงจูงใจ อ่อนเพลียง่าย เจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น

การใช้สมุนไพรในโรคพาร์กินสัน

หมามุ่ย

            มีการศึกษาปริมาณสาร levodopa หรือ L-dopa ในเมล็ดหมามุ่ยที่มีตามธรรมชาติ พบปริมาณ 3.1-6.1% และอาจพบสูงถึง 12.5% ในขณะที่ส่วนใบของหมามุ่ยพบเพียง 0.5% ซึ่ง L-dopa ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทได้แก่ epinephrine, norepinephrine และ dopamine

            เมื่อ levodopa ผ่าน blood brain barrier เข้าไปในสมอง ระดับ dopamine ในสมองก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อสมองหลายด้าน โดยเฉพาะด้านควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่จะมีความปกติด้านการเคลื่อนไหว อันเป็นผลมาจากสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว มีสาร dopamine ที่ลดลง

            ปัจจุบันสาร L-dopa จากเมล็ดหมามุ่ยถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตยารักษาพาร์กินสันและเริ่มมีการศึกษาวิจัยใช้เมล็ดหมามุ่ยในสัตว์ทดลอง และในผู้ป่วยพาร์กินสันผลการศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางที่ว่าเมล็ดหมามุ่ยมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่า หรือดีกว่ายา L-dopa เช่น ใช้สารสกัดผงเมล็ดหมามุ่ย 45 กรัมต่อวัน (เทียบเท่า L-dopa 1500 มิลลิกรัม) พบว่าอาการของโรคพาร์กินสันดีขึ้นภายในระยะเวลา 12-20 สัปดาห์ 

กะทกรก

            พืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีผลในการช่วยให้การทำงานของสารโดปามีนในสมองดีขึ้น เนื่องจากพืชเหล่านั้นมี สารอัลคาลอยด์ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ที่ทำหน้าที่ช่วยยับยั้งการทำลายสารสื่อประสาทโดปามีนในเซลล์สมอง จึงช่วยลดอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหว

            สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงได้ ศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรที่ไม่เป็นพิษ และมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ พบว่า

สารสกัดจากกะทกรก สามารถเพิ่มระดับสารสื่อประสาท dopamine และลดระดับเอนไซม์ MAO-B ในสมองหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เกี่ยวข้องอะไรกับโรคพาร์กินสัน

          ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ควบคุมการทำงานของระบบร่างกายหลายๆระบบ ซึ่งรวมทั้ง ระบบการเรียนรู้ ระบบการทรงตัวหรือเคลื่อนไหว การเจ็บปวด และอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ก็สามารถควบคุมสมองในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ด้วยเช่นกัน

โดยมีการศึกษาค้นพบว่า การส่งสัญญานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่มีประสิทธิภาพสามารถทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น

            ซึ่งสารสื่อประสาทหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันนั้น ก็คือ สารสื่อประสาทโดปามีน ซึ่งพบว่า การลดลงของสารสื่อประสาทชนิดนี้หรือความไม่สมดุลในสมองส่งผลให้มีผลต่อการทรงตัวหรือเคลื่อนไหวร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันได้

ซึ่งพบว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ก็สามารถออกฤทธิ์ในการส่งสัญญานที่เกี่ยวข้องกับสารโดปามีนได้ด้วยเช่นกัน

ทำไมต้องกัญชา

            สารไฟโตแคนนาบินอยด์ในกัญชา ทำหน้าที่เหมือนสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง คล้ายกับสารสื่อประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้นพวกสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เช่น AEA และ 2-AG และสารเหล่านี้ ทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง

และจากกัญชา ก็มีบทบาทในการควบคุมการทำงานหรือมีผลต่อการทำงานในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งระบบนี้ปัจจุบันก็พบว่า มีส่วนสัมพันธ์กับการควบคุมระบบการเคลื่อนไหวและทรงตัวของมนุษย์ด้วย

กัญชามีสรรพคุณป้องกันสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

            ดังนั้น กัญชา จึงเปรียบเสมือนกับสารสื่อประสาทที่จะเข้าไปมีผลในการปรับสมดุลหรือควบคุมเพื่อทำให้ภาวะโรคพาร์กินสันดีขึ้นได้ เพราะจะไปทำให้สารสื่อประสาทที่มีความผิดปกติกลับมาทำงานได้อย่างใกล้เคียงเหมือนเดิม

นอกจากนี้ กัญชา กัญชง ยังสามารถลดการอักเสบของเซลล์สมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบสารสื่อประสาทในผู้ป่วยพาร์กินสันทำงานผิดปกติไป

การลดการอักเสบ ก็เท่ากับ ทำให้ระบบสารสื่อประสาทกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น

กัญชาเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันอย่างไร

          สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชาได้ชื่อว่าเป็น สารที่มีประโยชน์ต่อสมอง หรือ มีคุณสมบัติปกป้องสมอง ซึ่งในกรณีผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทรงตัวหรือเคลื่อนไหวจนกลายเป็นโรคพาร์กินสันนั้น

พบว่า สารในกลุ่มนี้ เช่น สาร THC และ สาร CBD สามารถมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทโดปามีนได้

            โดยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะมีการอักเสบบริเวณเซลล์ประสาทที่มีการควบคุมสารสื่อประสาทโดปามีน ทำให้มีความผิดปกติเกิดขึ้น  จนนำไปสู่การที่ร่างกายขาดสารโดปามีน

ซึ่งพบว่า การกระตุ้นตัวรับ CB1 จะทำให้อาการสั่นของผู้ป่วยดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการยับยั้งตัวรับ CB1 จะทำให้อาการเคลื่อนไหวช้าของผู้ป่วยดีขึ้นเช่นกัน

            ดังนั้น กัญชาซึ่งมีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่เปรียบเสมือนสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง และสามารถจับกับตัวรับในสมองบริเวณที่มีปัญหาเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นยาทางในการรักษาหรือบรรเทาโรคพาร์กินสันได้

แนวทางการใช้กัญชา ร่วมกับสมุนไพรอื่น ในการรักษาโรคพาร์กินสัน

          โรคพาร์กินสันเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทที่ทำงานผิดปกติหรือขาดความสมดุล การใช้ยาหรือสมุนไพรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสารสื่อประสาทก็จะทำให้มีผลต่อการรักษาด้วย เช่น อาจเป็นได้ทั้งการส่งเสริมกัน หรือ ต้านทานฤทธิ์ซึ่งกันและกันได้

และกัญชาซึ่งมีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ก็เป็นสารที่สามารถตีกันกับยาชนิดอื่นๆได้เช่นกัน และในขณะเดียวกัน ยาหรือสมุนไพรอื่นๆก็สามารถมาตีกันกับกัญชาได้

            ฉะนั้น การใช้กัญชา ร่วมกับยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะต้องรู้คู่ยาที่ตีกันด้วย จะได้ใช้ให้เหมาะสม และผลการรักษาดีขึ้น และที่สำคัญ ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อชีวิต

กัญชา ใช้อย่างไรให้เหมาะสม เป็นทั้งยาบรรเทาและรักษาโรคได้ สั่งเล่มนี้ได้เลยครับ

เอกสารอ้างอิง

Marijuana for Parkinson’s Disease?. Innov Clin Neurosci. 2019;16(1–2):33–34

Cannabinoids in Parkinson’s Disease. Cannabis and Cannabinoid Research 2017, 2.1

https://www.tistr.or.th/TISTR/code/tistrorg/newsResearch/171101_135202.pdf

Cannabinoids in Parkinson’s Disease. Cannabis and Cannabinoid Research 2017, 2.1

Promising cannabinoid-based therapies for Parkinson’s disease: motor symptoms to neuroprotection. Molecular Neurodegeneration (2015) 10:17

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี