5 สารอาหารหลักที่คนโรคเบาหวานขาด แล้วทำให้สุขภาพแย่ลง


5 สารอาหารหลักที่คนโรคเบาหวานขาด แล้วทำให้สุขภาพแย่ลง

          โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบชีวิต โดยจะเกิดจากการดื้ออินซูลินทีละน้อยๆสะสมไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ทำให้ ตับอ่อน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอินซูลิน เสียหาย และไม่สามารถที่จะผลิตอินซูลิน เพื่อนำมาใช้ในการนำน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงสูงอยู่ตลอดเวลา

            โรคเบาหวานจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของคนที่รูปแบบสมัยใหม่ กินอาหารหวาน ไม่ออกกำลังกาย ทานไขมันที่ไม่ดี อยู่ในทุกๆวัน ปัจจุบันมีการศึกษาที่พบความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 มักขาดในร่างกาย โดยพบว่า%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%99

            ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักจะขาดสารอาหารเหล่านี้ หรือ มีไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพการทำงานของระบบอินซูลินให้ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ

1.โครเมียม พิโคลิเนต การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล อาหารรสชาติหวานๆ และแป้งขัดสี ในเมนูอาหารทุกๆวัน ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายขาดโครเมียม ซึ่งการขาดโครเมียมในร่างกาย ทำvitamin-d-could-halve-the-risk-of-type-1-diabetesให้เซลล์ต่างๆตอบสนองต่ออินซูลินแย่ลง เกิดภาวะที่เราเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistant) ระดับน้ำตาลในเลือด จึงสูงขึ้น แล้วเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

2. กรดไขมันโอเมกา 3 การรับประทานกรดไขมันอิ่มตัวมากเกินไป รวมทั้ง ทานอาหารที่กรดไขมันโอเมกา 3 น้อย ทำให้เกิดการอักเสบต่อเซลล์ในร่างกายได้ง่ายขึ้น เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้ส่งเสริมการเกิดปฎิกิริยาที่ทำให้ระบบเส้นเลือดแย่ลงไปอีก ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอาการแย่เพิ่มมากขึ้น

3.โคเอนไซม์ คิว 10 การขาดโคเอนไซม์ คิว 10 อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มักจะมีภาวะไขมันในเลือดสูง แล้วได้รับยาในกลุ่ม Statin ร่วมด้วย (ยาในกลุ่มนี้ ลดการสร้างโคเอนไซม์ คิว 10 ในร่างกาย) จะทำให้เซลล์หัวใจผลิตพลังงานได้น้อยลง และมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลว

4. วิตามินดี การที่ร่างกายมีวิตามินดีไม่เพียงพอ สามารถทำให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจอักเสบได้ และวิตามินดี ในร่างกายไม่เพียงพอ ยังทำให้ระบบการเผาผลาญน้ำตาลเกิดความผิดปกติด้วย ปัจจุบันถึงแม้วิตามินดี ร่างกายจะสร้างได้เอง เมื่อสัมผัสแสงแดด แต่จากรายงาน คนไทยมีการขาดวิตามินดีมากขึ้น

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87

5. กรดอะมิโน L-Arginine การที่ร่างกายมีระดับของ L-Arginine ทำให้ผลิตไนตริกออกไซต์ไม่เพียงพอ ซึ่งเมื่อมีระดับของไนตริกออกไซต์ที่ต่ำ ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังทำให้เกร็ดเลือดมีความหนืดมากยิ่งขึ้น (ทำให้เลือดข้น) จึงช่วยส่งเสริมทำให้อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง

สงสัยหรือสอบถามข้อมูลมาได้ที่เมลล์ Pharm.oa@gmail.com หรือ ไลน์ Pharmalogger

อ้างอิงจาก

Dietary and nutraceutical approach to type 2 diabetes

NUTRACEUTICAL SUPPLEMENTATION FOR DIABETES: A REVIEW

Nutraceuticals as therapeutic agents for holistic treatment of diabetes

Nutraceuticals in the Management and Prevention of Metabolic Syndrome

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี