3 อาหารเสริมที่มีการวิจัยว่าลดไขมันในเลือดได้ ด้วยกลไกเดียวกับยาในกลุ่ม Statin


3 อาหารเสริมที่มีการวิจัยว่าลดไขมันในเลือดได้ ด้วยกลไกเดียวกับยาในกลุ่ม Statin

ปัจจุบันอาหารเสริม รวมทั้งสารสกัดจากสมุนไพร มีการผลิตออกมาจำนวนมาก ถึงแม้กฎหมายจะไม่อนุญาตให้โฆษณาว่ามีสรรพคุณทางรักษาหรือป้องกันโรคได้ แต่ในความเป็นจริง ทุกแบรนด์ ทุกยี่ห้อ ล้วนโฆษณาเพื่อสร้างจุดขายให้กับสินค้า

%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7

อาหารเสริม หรือ สารสกัดจากสมุนไพร ในการช่วยลดระดับไขมันในเลือด ก็เป็นหนึ่งในอาหารเสริมที่มีการผลิตออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก บทความนี้จะนำเสนอ สารอาหาร หรือ สารสกัดจากสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยว่า ช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ พร้อมทั้งกลไกการออกฤทธิ์ มาแบ่งปันให้ได้ทราบกันครับ

ก่อนอื่นเรามาทราบกันก่อนว่า การสังเคราะห์ไขมันในร่างกาย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ตับ และเอนไซม์ที่มีส่วนสำคัญหลัก ในการสังเคราะห์ไขมันหรือสร้างไขมันขึ้นมาเพื่อใช้ในร่างกายนั้น มีชื่อที่เรียกกันง่ายๆว่า เอนไซม์ HMG Co A reductase%e0%b8%aa%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84

ฉะนั้น การที่จะยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันจากตับ ไม่ให้สร้างมากเกินไป จึงจะต้องยับยั้งเอนไซม์ตัวนี้ เหมือนที่ยาในกลุ่ม Statin ออกฤทธิ์นั่นเอง

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยก้าวหน้ามากขึ้น เราก็พบว่าสารสกัดจากสมุนไพรหรือสารอาหาร ที่เราเคบพบว่า ผู้ที่รับประทานเป็นประจำ ทำไมระดับไขมันในเลือดจึงลดลงหรือไม่สูงเกินมาตรฐาน ซึ่งเราก็พบว่า สารอาหารหรือสมุนไพรเหล่านั้นออกฤทธิ์เหมือนกันกับยากลุ่มนี้นั่นเอง ซึ่งมีดังนี้

  1. กระเทียม

กระเทียมจัดเป็นสมุนไพร ที่มีการใช้ในทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน รวมทั้งอยู่ในเมนูอาหารด้วยเช่นกัน กระเทียมมีสารที่ชื่อว่า Allicin ออกฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือดด้วยการยับยั้งการทำงานผ่านเอนไซม์ HMG Co A Reductase ซึ่งเป็นกลไกเดี่ยวกัน

aged-garlic-extract-capsules-1กับการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม Statin ที่ทางการแพทย์ชอบใช้กันในผู้ป่วย และข้อดีของกระเทียม จากการศึกษายังพบว่า กระเทียมยังช่วยการป้องกันการเปลี่ยนไขมัน LDL ให้กลายเป็น Oxidized LDL ด้วย ซึ่งเป็นไขมันตัวที่สามารถออกฤทธิ์ทำลายเส้นเลือดได้ ตามที่ผมได้เคยเขียนไปก่อนหน้านี้

  1. ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันเป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรที่อยู่ในตำราแพทย์ มาอย่างช้านาน รวมทั้งอยู่ในเมนูอาหารด้วย โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้จะมีขมิ้นเป็นองค์ประกอบอยู่หลายเมนู ขมิ้นชัน มีสารที่เรียกว่า Curcumin ออกฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด

%e0%b8%82%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87ด้วยการยับยั้งการทำงานผ่านเอนไซม์ HMG Co A Reductase ซึ่งเป็นกลไกเดี่ยวกันกับการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม Statin จากการศึกษายังพบว่า ขมิ้นชันยังช่วยการป้องกันการเปลี่ยนไขมัน LDL ให้กลายเป็น Oxidized LDL ด้วย เหมือนกับกระเทียมเลยครับ

  1. โอเมก้า 3

โอเมก้า จัดเป็นสารอาหารอีกหนึ่งชนิดที่มีการศึกษาและงานวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติในการลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งส่วนใหญ่เราจะมักได้ยินกันว่า โอเมก้า 3 บำรุงสมอง แต่จริงๆแล้ว สรรพคุณในการลดระดับไขมันในเลือดก็เจ๋งไม่น้อยไปกว่ากัน โอเมก้า 3 ในรูปแบบอาหารเสริม สามารถหาซื้อได้ในรูปแบบของน้ำมัน (Fish oil) หรือ Krill oil น้ำมันโอเมก้า 3 ออกฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือดด้วยการยับยั้งการทำงานผ่านเอนไซม์ HMG Co A Reductase ซึ่งเป็นกลไกเดี่ยวกันกับการออกฤทธิ์

%e0%b9%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%b23-%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94ของยาในกลุ่ม Statin เหมือนกับกระเทียมและขมิ้นชันดังที่กล่าวไป จากการศึกษานอกจากจะลดไขมัน LDL ได้แล้ว ยังช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และลดการอักเสบที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย

ทั้งกระเทียม ขมิ้นชัน และโอเมก้า 3 มีการผลิตออกมาจำหน่ายมากมายหลายแบรนด์ ซึ่งแบรนด์ที่จะได้ผลตามแบบงานวิจัยนั้น แบรนด์ต้องได้มาตรฐาน เพราะว่า คุณภาพของวัตถุดิบและสารสกัด รวมทั้งกระบวนการผลิต ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพของการออกฤทธิ์ และที่สำคัญ ควรมีการศึกษาวิจัยจริงหลังจากผลิตเสร็จออกมาเป็นแบรนด์จะดีที่สุด และอยู่ในกรดอาหารเสริมแบบ Nutracetical

สงสัยหรือสอบถามข้อมูลมาได้ที่เมลล์ Pharm.oa@gmail.com หรือ ไลน์ Pharmalogger

อ้างอิงจาก

Role of garlic in dyslipidemia: an evidence based review. Scientific Journal of Biological Sciences (2015) 4(5) 36-42

The Effects of Curcumin on Lipids in Humans . Nutrition Bytes, 16(1) (2012)

Therapeutic Roles of Curcumin: Lessons Learned from Clinical Trials. The AAPS Journal, Vol. 15, No. 1, January 2013

Overview of Omega-3 Fatty Acid Therapies

A Meta-Analysis of Red Yeast Rice: An Effective and Relatively Safe Alternative Approach for Dyslipidemia

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี