7 สารอาหารต้องห้ามพลาด ถ้าไม่อยากให้เส้นเลือดแตกหรือตีบ ก่อนวัยอันควร


เส้นเลือดก็เหมือนกล้ามเนื้อ ที่จะมีความแข็งแรงและความยึดหยุ่น ซึ่งอายุที่มากขึ้น รวมทั้ง การได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้เส้นเลือดขาดความยึดหยุ่น ไม่แข็งแรง โอกาสที่จะเกิดการตีบตันหรือเปราะและแตกง่าย ก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นว่า มีเส้นเลือดแตกในสมอง หรือ เส้นเลือดอุดตันในสมอง รวมทั้ง หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เป้นประจำๆ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน ยังไม่มียา เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว แต่สำหรับ สารอาหารหรือสมุนไพรนั้น มีการศึกษาพบว่า สารอาหารหลายๆชนิด มีคุณสมบัติที่จะทำให้เส้นเลือดมีความแข็งแรง และยึดหยุ่นได้เป็นอย่างดี

1. วิตามินอี

มีการศึกษาพบว่า วิตามินอี สามารถช่วยให้เส้นเลือดมีความแข็งแรงขึ้นได้ และการทำงานของเส้นเลือดเป็นไปอย่างปกติ (endothelial function) โดยเฉพาะ คนที่สุบบุหรี่ การได้วิตามินอี 600 IU ต่อวัน มีประโยชน์ต่อเส้นเลือด และ ในเด็กที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับการผิดปกติของเส้นเลือดตามพันธุกรรม การได้รับวิตามินอี 400 IU ร่วมกับ วิตามินซี 500 มิลลิกรัม จะทำให้เส้นเลือดแข็งแรงขึ้นได้

2. วิตามินซี

วิตามินซี ได้ชื่อว่า เป็นวิตามินที่เส้นเลือดจะขาดไม่ได้ เพราะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นเลือด (ถ้าเราขาดวิตามินซี จะทำให้เลือดออกได้ง่าย เช่น โรคเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยทำให้ทีมนักสำรวจชื่อดังอย่างโคลัมบัส ล้มตายกันเกือบยกลำเรือมาแล้ว) ซึ่งจากการศึกษาในผู้ที่เคยมีประวัตเกี่ยวกับโรคหัวใจ การได้รับวิตามินซี ขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ทำให้เส้นเลือดแข็งแรง และการได้รับวิตามินซี เพียง 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ก็มีประโยชนืและช่วยลดการถูกทำลายของเส้นเลือด จากการที่ร่างกายมีสารโฮโมซีสเทอีนสูง (เป็นสารชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจได้)

3. แอล อาร์จินีน

แอล อาร์จินีน เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ สารที่เรียกว่า ไนตริก ออกไซด์ (Nitric oxide) ซึ่งสารไนตริก ออกไซด์ เป็นสารที่ช่วยควบคุมการทำงานของเส้นเลือดให้เป็นไปอย่างปกติ ช่วยให้เส้นเลือดมีความยึดหยุ่นได้ดี ในการบีบรับเลือดที่ไหลผ่านมาในเส้นเลือด การรับประทานในขนาด 6-15 กรัมต่อวัน มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เคยหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวาย (การรับประทานในขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้) และการรับประทานร่วมกับวิตามินซี จะทำให้แอล อาร์จีนนิน มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. กระเทียม

กระเทียมมีสารต้านอนุมุลอิสระที่สูง และช่วยเพิ่มการสร้างไนตริก ออกไซด์ จึงช่วยให้การทำงานของเส้นเลือดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับประทานในขนาด 2.4 กรัมต่อวัน ช่วยให้เส้นเลือดทำงานได้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อผู้ที่เคยมีความผิดปกติต่อเส้นเลือด

5. กรดแอลฟา ไลโปอิก

กรดแอลฟา ไลโปอิก ในประเทศทางยุโรป มีการนำมาใช้ในการรักษาอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetic nerve disease) และการใช้ในขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยให้การทำงานของเส้นเลือดเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ไลโคปีน

ไลโคปีน มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบของเส้นเลือดได้ การรับประทานในขนาด 6-15 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการอักเสบของเส้นเลือด และช่วยให้การทำงานของเส้นเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

7. เรสเวอราทรอล

ถ้าวิตามินซี จัดเป็นสมุนมือซ้าย ที่เป็นสารอาหารที่คู่กับเส้นเลือดแล้ว เรสเวอราทรอลก็จัดว่าเป็นสมุนมือขวา ที่มีความจำเป็นต่อเส้นเลือดมากๆ เพราะว่า สารเรสเวอราทรอล มีคุณสมบัติช่วยให้เส้นเลือดมีความแข็งแรง ที่ทรงอานุภาพมากๆ ดังที่เคยปรากฎการณ์ทางการแพทย์ ที่เรียกว่า French Paradox (ปรากฎการณ์ที่ คนฝรั่งเศส มีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบเส้นเลือดในหัวใจน้อยมากๆ เพราะ คนฝรั่งเศสชอบดื่มไวน์ และปกติ ไวน์จะทำจากองุ่น ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารเรสเวอราทรอล) การรับประทานขนาด 30-100 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยให้เส้นเลือดมีความยึดหยุ่น ทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มสารไนติกออกไซด์ในร่างกายได้

มีข้อสงสัยสอบถามมาได้นะครับที่ ไลน์ Pharmalogger หรือ Pharm.oa@gmail.com

อ้างอิงจาก

Sarabi M, Vessby B, Basu S, et al. Relationships between endothelium-dependent vasodilation, serum vitamin E and plasma isoprostane 8-iso-PGF2a levels in healthy subjects. Journal of Vascular Research, 1999;36:486-491.

Neunteufl T, Priglinger U, Heher S, et al. Effects of vitamin E on chronic and acute endothelial dysfunction in smokers. Journal of the American College of Cardiology, 2000;35:277-283.

Engler MM, Engler MB, Malloy MJ, et al. Antioxidant vitamins C and E improve endothelial function in children with hyperlipidemia. Endothelial assessment of risk from lipids in youth (EARLY) trial. Circulation, 2003;108;1059-1063.

Ling L, Zhao SP, Gao M, et al. Vitamin C preserves endothelial function in patients with coronary heart disease after a high-fat meal. Clinical Cardiology, 2002;25:219-224.

Chambers JC, McGregor A, Jean-Marie J, et al. Demonstration of rapid onset vascular endothelial dysfunction after hyperhomocysteinemia. An effect reversible with vitamin C therapy. Circulation, 1999;99:1156-1160.

Anon. Monograph: L-arginine. Alternative Medicine Review, 2005;10:139-147.

Tousoulis D, Xenakis C, Tentolouris C, et al. Effects of vitamin C on intracoronary L-arginine dependent coronary vasodilation in patients with stable angina. Heart, 2005;91:1319-1323.

Williams MJ, Sutherland WH, McCormick MP, et al. Aged garlic extract improves endothelial function in men with coronary artery disease. Phytotherapy Research, 2005;19:314-319.

Sola S, Mir MQ, Cheema FA, et al. Irbesartan and lipoic acid improve endothelial function and reduce markers of inflammation in the metabolic syndrome. Circulation, 2005;111:343-348.

Lycopene lowered inflammation and improved blood flow in men. Artherosclerosis; 2011 Mar; Vol. 215, No. 1, 189-95

Wu L, Wang R. Carbon monoxide: endogenous production, physiological functions, and pharmacological applications. Pharmacol Rev 2005; 57:585-630.

Klinge CM, Wickramasinghe NS, Ivanova MM, Dougherty SM. Resveratrol stimulates nitric oxide production by increasing estrogen receptor α-Src-caveolin-1 interaction and phosphorylation in human umbilical vein endothelial cells. FASEB J 2008

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี Line : Pharmalogger