กัญชา กับทางเลือกของผู้หญิงที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่


เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ หรือ Endometriosis หมายถึง การที่มีเซลล์เนื้อเยื่อที่มีลักษณะคล้ายกับเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญขึ้นที่อื่น ที่นอกเหนือจากในโพรงมดลูกที่ซึ่งมันควรอยู่

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่นอน แต่คาดกันว่า อาจเกิดจากตอนที่มีประจำเดือน  ซึ่งเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาพร้อมกับเลือดประจำเดือนนั้น จะไหลย้อนกลับไปทางท่อนำไข่  ทำให้เข้าไปในช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกรานได้  เพราะปลายท่อนำไข่เปิดอยู่ 

ปรากฎการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับการมีประจำเดือนของคนผู้หญิงทั่วไปประมาณ 70-80 % (ที่เลือดไหลย้อนเข้าไปในอุ้งเชิงกราน)  แต่ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะเกิด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  

ซึ่งอาจอธิบายได้ว่า  ปกติเนื้อเยื่อของร่างกายถ้าอยู่ผิดที่  จะถูกเม็ดเลือดขาวและภูมิต้านทาน (antibody) ของร่างกายทำลายทิ้งไป  แต่ในรายที่เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้น มีการตรวจพบว่า มีระบบภูมิคุ้มกันที่จะต่อต้านเซลล์เหล่านี้ลดลงกว่าคนที่ไม่เป็น นั่นเอง

อาการของผู้หญิงที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  มี 4 กลุ่มอาการ ดังนี้


1. อาการปวด  ได้แก่  การปวดประจำเดือน  ปวดท้องน้อยเรื้อรัง  ปวดเวลาปัสสาวะ  หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา  ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์


2. อาการเลือดประจำเดือนผิดปกติ  คือ  การมีเลือดประจำเดือนมามากกว่าปกติ  มาไม่สม่ำเสมอ  มานาน  มากะปริดกะปรอย  ซึ่งการมีประจำเดือนผิดปกติ  อาจอธิบายได้ว่าเกิดจากการมีส่วนทำให้ไข่ไม่ค่อยตก

การมีเลือดประจำเดือนออกมาก เพราะ มีส่วนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ, ทำให้มดลูกโต    

ผู้หญิงที่มีภาวะนี้ก็จะมีอาการประจำเดือนมากผิดปกติได้เช่นเดียวกับคนที่เป็นโรคเนื้องอกของมดลูก


3. การมีลูกยาก  ผู้หญิงที่มีลูกยากมีได้หลากหลายสาเหตุ  และพบว่ามีภาวะของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อยู่ด้วย

เพราะว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจทำให้ไข่ตกออกมาจากรังไข่ไม่ได้  ท่อนำไข่ตัน หรือไปจับไข่ที่ตกจากรังไข่เข้ามาในท่อไม่ได้  คุณภาพของไข่และตัวอ่อนลดลง  ทำให้การปฏิสนธิไม่ดีหรือการแบ่งเซลล์ไม่ดี  


4. อาการพบก้อนในท้องน้อย  เกิดจากการเกิดถุงน้ำเลือด (Chocolate Cyst) ที่รังไข่ หรือที่เรียกว่า ซีสต์ นั่นเอง

แนวทางการดูแลรักษาปัจจุบัน มีดังนี้


1. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะช่วยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อลงทั้งในมดลูกและนอกมดลูก  ที่นิยมใช้คือ  ยาฉีดคุมกำเนิดและยารับประทานคุมกำเนิด  (ยารับประทานมีเอสโตรเจนอยู่ด้วย) ยาฉีดคุมกำเนิดทำให้อาการลดลงได้  แต่อาจมีปัญหาประจำเดือนไม่ปกติ  หรือทำให้ไม่มีประจำเดือน  ยารับประทานทำให้มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอแต่น้อยลง  เมื่อเลิกยาก็หมดฤทธิ์ไป


2. Danazol โดยยานี้ทำให้ไม่ตกไข่  มีฮอร์โมนมาเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยลง  เยื่อบุมดลูกฝ่อลง  อาการดีขึ้น  แต่ก็มีผลข้างเคียง คือ ประจำเดือนมาผิดปกติ  ไม่มีประจำเดือน  และที่สำคัญคือทำให้มีขนขึ้นผิดปกติ  มีเสียงใหญ่ขึ้นแบบผู้ชาย  (กรณีการมีเสียงใหญ่ขึ้น  เมื่อเลิกยาเสียงก็ไม่เปลี่ยนกลับอย่างเดิม)  ไขมันในเลือดผิดปกติและอาจเป็นอันตรายต่อตับ  ปัจจุบันคาดว่าสูตินรีแพทย์ไม่ใช้ยานี้แล้ว


3. ยา Gonadotropin-releasing agonist (GnRHagonist) เป็นยาลดฮอร์โมนที่มากระตุ้นรังไข่  ทำให้รังไข่ไม่ทำงาน  จึงไม่มีฮอร์โมนรังไข่  เกิดภาวะและมีอาการเหมือนวัยหมดประจำเดือน  ทำให้เยื่อบุมดลูกยุบตัวเล็กลงเพราะไม่มีฮอร์โมนมากระตุ้น  

ผลข้างเคียงจึงเป็นแบบเดียวกับคนหมดประจำเดือน  คือ หงุดหงิด  ร้อนวูบวาบ  ช่องคลอดแห้ง  กระดูกบางลง เป็นต้น  ยานี้มีทั้งชนิดฉีดและพ่นจมูก  ปกติถ้าแพทย์ใช้ก็ใช้แบบเป็นการชั่วคราว  ไม่รักษาระยะยาว


4. การผ่าตัด  คือ การตัดเอารอยโรคหรือส่วนที่เป็นโรคออกไป  ปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องช่องท้องมากที่สุด  เพราะได้ผลดี  พังผืดน้อย  เจ็บปวดน้อย  ฟื้นตัวเร็ว (แต่ค่าใช้จ่ายจากการใช้เครื่องมือพิเศษนี้ยังแพงกว่าผ่าตัดธรรมดา)

5. ยาแก้ปวด ยาแก้ปวดในกรณีนี้ก้มักจะเป็นยาแก้ปวดทั่วไป ที่มักใช้ในกรณีปวดประจำเดือน นั่นเอง ซึ่งก็จะเป็นเพียงบรรเทาอาการเป็นครั้งคราวเท่านั้นเอง

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ และ กัญชา กัญชง จะเข้ามาช่วยแก้ไขเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้อย่างไร

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เป็นระบบที่เปรียบเสมือน ผู้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกายทุกๆระบบ เพราะในปัจจุบันค้นพบ ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง การทำงานของอวัยวะต่างๆกับการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์อย่างแน่นแฟ้น

ซึ่งถ้าระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์นี้ทำงานผิดปกติไป ไม่ว่าจะทำงานมากกว่าปกติ หรือ ทำงานน้อยกว่าปกติ ก็ล้วนส่งผลต่อการนำไปสุ่การเจ้บป่วยด้วยการแสดงอาการหรือโรคอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ขึ้นกับว่า เกิดขึ้นกับอวัยวะหรือระบบไหนของร่างกาย นั่นเอง

จากรูปภาพประกอบ มีการศึกษาวิจัยพบว่า ในผู้หญิงที่มีภาวะการเจริญผิดที่ของเยื่อบุโพรงมดลูก จะมีการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เนื่อเยื่อผ่านเส้นทาง Akt และ mTORC มากเกินไป ทำให้เซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูก เจริญมากขึ้นกว่าปกติ

ฉะนั้น สารที่สามารถยับยั้งการทำงานของเส้นทางนี้ได้ หรือ ที่เรียกว่า Akt/mTORC pathway inhibitor จะสามารถยับยั้งการเจริญหรือเพิ่มจำนวนเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกได้ เป็นต้น

สารไฟโตแคนนาบินอยด์ มีคุณสมบัติ Akt/mTORC pathway inhibitor

กัญชา กัญชง อาจยับยั้งเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้

นอกจากนี้ ยังพบว่า กัญชา กัญชง ซึ่งอุดมไปด้วยสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ที่สามารถเข้าไปออกฤทธิ์ในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ยังมีอีกหลายกลไกที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่จะเกิดจากการที่จะมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ตามภาพประกอบ

รวมกลไกที่กัญชา กัญชง จะยับยั้งการเจริญของเยื่อบุมดลูกผิดที่

นอกจากนี้ยังพบว่า การปวดประจำเดือนด้วยสาเหตุนี้ หรือ การปวดประจำเดือนแบบปกติทั่วไป การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์เพื่อเข้าไปออกฤทธิ์ยังระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ยังสามรถช่วยบบเทาอาการลงได้ นั่นเอง ตามภาพประกอบ

กัญชา กัญชง แก้ปวดจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนได้

กัญชา กัญชง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะสามารถนำมาใช้ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีประจำเดือน รวมทั้งภาวะผิดปกติของการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญผิดที่

สนใจรายละเอียดอย่างครบถ้วน สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ได้เลยครับ

อ้างอิงบางส่วนจาก

The molecular connections between the cannabinoid system and endometriosis. Molecular Human Reproduction, Vol.18, No.12 pp. 563–571, 2012

Effects of cannabinoids on reproduction and development. Vitam Horm 1978; 36:203– 258.

Matrix metalloproteinase-9 and tissue inhibitor of metalloproteinase-3 mRNA expression in ectopic and eutopic endometrium in women with endometriosis: a rationale for endometriotic invasiveness. Fertil Steril 2001;75:152 – 159.

Endocannabinoid involvement in endometriosis. Pain 2010;151:703 –710.

Endocannabinoid system regulates migration of endometrial stromal cells via cannabinoid receptor 1 through the activation of PI3K and ERK1/2 pathways. Fertil Steril 2010;93:2588 – 2593.

Antiproliferative effects of cannabinoid agonists on deep infiltrating endometriosis. Am J Pathol 2010;177:2963 – 2970.

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี