ลูทีน (Lutein)


ลูทีน (Lutein)

สารลูทีน เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จัดอยู่ในกลุ่มสารที่มีสี ในตระกูลแคโรทีนอยด์ ลูทีนเป็นแคโรทีนอยด์สีเหลือง จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ลูทีนพบได้ทั่วไปในผักใบเขียว ข้าวโพด และ ไข่แดง และมีส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา

ลูทีนพบในปริมาณสูงในจุดของดวงตา โดยที่ ลูทีนจะฉาบบนผิวของเรตินา (Retina) บริเวณจุดรับภาพของลูกตา (macula) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญในจอประสาทตา ในการมองเห็นภาพต่างๆ ลูทีนจะช่วยในการดูดซับและปกป้องการทำลาย ของคลื่นแสงที่มีต่อเยื่อบุผิวเรตินา

หน้าที่ของ Lutein

ทำหน้าที่ช่วยให้มองภาพได้คมชัด และเห็นรายละเอียดของภาพดีขึ้น มีรายงานถึงผลการวิจัยที่ชัดเจนมากมาย สามารถลดอุบัติการณ์ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริงและยังลดความเสี่ยง ในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (Age – Related Mascular Degeneration หรือ AMD)super-lutein-eye

ลูทีนถือเป็นสารอาหารที่มีความ สำคัญในการปกป้องจอประสาทตา โดยลูทีน จะทำงานร่วมกันกับกรดไขมันดีเอชเอ  ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็ก โดยดีเอชเอ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นหลอดไฟ ส่วนลูทีน จะทำหน้าที่เหมือนเป็นสารเคลือบหลอดไฟ ไม่ให้เสื่อมเร็ว

อย่างไรก็ตาม สารอาหารลูทีนนี้ ร่างกายของคนเรา ไม่สามารถสังเคราะห์สารลูทีนขึ้นมาใช้เองได้ จะต้องกินเข้าไปเท่านั้น เด็กแรกเกิดที่ได้กินนมแม่นั้นจะได้รับลูทีน ผ่านทางน้ำนมโดยตรง

ดังนั้น การดูแลปกป้องดวงตา และเอาใจใส่เรื่องการกินอาหาร จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็น มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีพัฒนาการทางสายตาที่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องให้ลูกได้ดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 1 ขวบ

 

ใครบ้างควรรับประทาน

ผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ระยะเวลานาน

ผู้ที่ชอบเล่นเกมส์ในมือถือนานๆ หรือ ต้องจ้องหน้าจอโทรศัพท์นานๆ%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2

ผู้สูงอายุที่สายตาเริ่มเสื่อม

เด็กในวัยเจริญเติบโต

ผู้ที่เป็นต้อกระจก

พนักงานขับรถที่สายตาจะต้องเจอแสงแดดแรงๆเป็นประจำ

 

ขนาดที่แนะนำให้รับประทาน

ยังไม่มีการระบุออกมาชัดเจนว่าต้องรับประทานขนาดเท่าไร

 

แต่ในการวัจัย แนะนำโดยทั่วไปที่วันละ 6-10 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่ควรเกิน 20 มิลลิกรัม

 อาหารที่ช่วยบำรุงสายตา มีดังนี้

พริกหยวก

พริกหยวก อุดมไปด้วยวิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งวิตามินเอจะช่วยบำรุงสายตา อีกทั้งวิตามินซีก็ยังช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกได้อีกด้วย และในพริกหยวกยังมีวิตามินบี 6 ลูทีน ซีแซนทีน เบต้าแคโรทีน และไลโคปีน ซึ่งมีคุณประโยชน์ดวงตา เพียงลองหาพริกหยวกมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จะย่าง ทอด อบ นึ่ง หรือจะรับประทานแบบสดๆ กับสลัดก็ได้ประโยชน์

แครอท

แครอท ถือเป็นอาหารบำรุงสายตาอีกชนิดหนึ่ง เพราะเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และลูทีน ที่อยู่ในแครอทมีฤทธิ์ในการดูแลสุขภาพดวงตาโดยตรง ช่วยบำรุงให้กระจกตาใส ป้องกันเซลล์ต่างๆ ในดวงตา ทั้งยังป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืนได้ และลูทีนที่อยู่ในแครอทยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของจอประสาทตา และป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม

%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%9a%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%95%e0%b8%b2

ผักใบเขียว

ผักใบเขียว มีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตามากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ ลูทีน สารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะผักโขม ผักปวยเล้ง หรือบรอกโคลี

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะบลูเบอร์รี และโกจิเบอร์รี ที่มีชื่อเสียงในด้านการบำรุงสายตา ป้องกันสายตาเสื่อมสภาพ อีกทั้งสารต้านอนุมูลอิสระยังป้องกันเซลล์ต่างๆ ในดวงตาไม่ให้ถูกทำลาย

ข้อควรระวัง

การรับประทานลูทีนในขนาดสูง โดยปกติมากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันในระยะเวลานาน จะพบอาการตัวเหลืองได้บ้าง จากการสะสมของลูทีน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ แต่การหยุดรับประทานสักระยะ จะทำให้อาการดังกล่าวหายไปได้

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี